ลมในท้องมาก

เมื่อลมในท้องมาก



สามารถดูแลตัวเองได้

         การที่ลมในท้องมากอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง ปวดมวนในท้อง ปวดท้องเป็นพักๆ เรอมาก ผายลมบ่อย เป็นต้น สาเหตุของลมในท้องที่มากนั้นเกิดได้จาก

          เกิดจากอาการทางประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเครียด ใครก็ตามที่ต้องทำงานใช้ความคิดมาก และต้องนั่งทำงานอยู่กับที่ตลอดเวลามักจะเสี่ยงต่ออาการท้องอืดและปวดท้องได้

          เกิดจากแก๊สในลำไส้ใหญ่มากกว่าปกติ ทั้งนี้เพราะว่าในร่างกายมีแบคทีเรียตัวร้ายมากเกินไป มันจะผลิตแก๊สขึ้นมามากจนลำไส้ใหญ่โป่ง และมีลมรบกวนอยู่ในท้อง ในขณะที่ปวดท้องเพราะลมมากนั้น เราสามารถช่วยตัวเองได้ด้วยการเอากระเป๋าน้ำร้อน ประคบหน้าท้องหรือจะกินยาถ่านกันมันต์ แอคติเวดเต็ดชาร์โค ช่วยดูดแก๊สในท้องให้หายอึดอัดก่อนก็ได้

วิธีการดูแลตัวเองในระยะยาว สามารถทำได้ดังนี้

                1. ถ้ารู้ตัวเองว่าอาการเครียดทำให้เกิดลมในท้องมาก ให้จัดเวลาออกกำลังกายทุกเย็นหลังเลิกงาน เพื่อระบายความเครียด เนื่องจากการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬามีส่วนช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหว และขับลมออกไปนอกร่างกายเราได้ด้วย

                2. ฝึกชี่กงระบายลม ขณะที่ฝึกชี่กงหากเราอยากผายลมไม่แนะนำให้กั้นไว้ ควรจะปล่อยให้มันผายออกมาได้เลย เพราะมันจะช่วยทำให้อาการอึดอัดและแน่นท้องหายไปเอง

     3. นวดหน้าท้อง โดยให้ผู้อื่นช่วยนวดให้ สามารถทำได้โดยการใช้มือสองมือกดลงไปตรงหน้าท้อง เริ่มจากดท้องด้านขวาส่วนล่าง ให้กดเป็นทิศทางตามเข็มนาฬิกาขึ้นไปยังท้องส่วนบน นวดขวางหน้าท้องแล้วเลี้ยวกลับลงมาทางด้านซ้าย วิธีการนี้เป็นการนวดลำไส้ใหญ่ เพื่อกระตุ้นให้มันขับลมออกมา

     4. ดื่มชาสมุนไพรหรือกินสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลม สำหรับชาจะชงกับสมุนไพรแห้งหรือเอาสมุนไพรมาต้มกับน้ำก็ได้ ชาที่แนะนำได้แก่ ขิง ตะไคร้ กะเพรา (กะเพราแดงจะขับลมได้ดีกว่ากระเพราขาว) ชะพลู ดีปลี กานพลู พริกไทย กระวาน เร่ว ไพล ข่า และจันทน์เทศ เป็นต้น โดยเราสามารถนำมาทำเป็นกับข้าวหรือปรุงเป็นอาหารกินแก้ท้องอืดได้ดี

     5. ใช้โอลิโกพรุกโตส วันละ 1-3 กรัม เพื่อเข้าไปเลี้ยงบิฟิโดแบคทีเรียให้เพิ่มปริมาณ และลดจำนวนแบคทีเรียตัวร้ายที่สร้างแก๊สในลำไส้ แต่ควรเริ่มด้วยปริมาณน้อย ๆ ก่อน เช่นวันละ 1/2 - 1 กรัม เพราะคนที่มีลมในท้องมาก อาจจะไม่ชินกับมวลของอุจจาระที่เพิ่มมากขึ้น และอาจจะทำให้ปวดมวนท้องมากกว่าเดิม ถ้ามีอาการดังกล่าวให้ลดขนาดของโอลิโกกรุกโตส ที่ใช้ลง เมื่อชินแล้วก็ค่อยกินมากขึ้น


ยาขับลม แก้ท้องอืดแก๊สในกระเพาะ
คำถาม : มักมีอาการท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะควรเลือกใช้ยาชนิดใด?

โรคท้องอืด หรืออาหารไม่ย่อย



โรคท้องอืด ท้องเฟ้อ หรืออาหารไม่ย่อย (dyspepsia) เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อย เป็นอาการผิดปกติของ ท้องหรือลำไส้ มักมีอาการบริเวณตรงกลางของท้องด้านบน อยู่ระหว่างใต้ลิ้นปี่และเหนือสะดือ
ตัวอย่างอาการของโรคท้องอืด ได้แก่ ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง มีการบีบรัดของลำไส้ ท้องหลาม ตึงๆ อืดๆ มีลม หรือแก๊สในกระเพาะอาหาร เรอเหม็นเปรี้ยว และอาจมีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกเหนือลิ้นปี่ และบางรายอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็วร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอาการร่วมกันก็ได้


สาเหตุของโรคท้องอืด


สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคท้องอืดเกิดจากอาหาร หรือพฤติกรรมการกิน เป็นสำคัญ รองลงมาคือโรคของระบบทางเดินอาหาร ยาบางชนิด แอลกอฮอล์ กาเฟอีน บุหรี่ เป็นต้น โรคท้องอืดกับการกินอาหารอาหารที่คนเรากินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาติ ถ้าไม่ถูกสุขลักษณะอนามัย ที่ดี ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดขึ้นได้ เริ่มตั้งแต่ชนิดของอาหาร (เพราะอาหารบางชนิดทำให้ท้องอืด แต่บาง ชนิดไม่ก่อให้เกิด) พฤติกรรมการกินอาหาร การกินลม เป็นต้น


ชนิดของอาหาร
" ชนิดของอาหาร " มีผลต่อท้องอืดโดยตรง เพราะอาหารบางชนิดก่อให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขณะที่อีกหลายชนิดไม่เป็นปัญหาท้องอืด ตัวอย่างอาหารที่ทำให้เกิดท้องอืด ได้แก่
o อาหารที่มีไขมันสูง เช่น แกงกะทิ ช็อกโกแลต เนย นม (โดยเฉพาะคนเอเชียที่ไม่เคยกินนมมานาน)
o อาหารรสจัด ไม่ว่าจะเปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัด
o อาหารที่ย่อยได้ยาก เช่น เนื้อสัตว์ กากใยอาหารบางชนิด

พฤติกรรม หรืออุปนิสัย ลักษณะการกินอาหาร

"พฤติกรรม หรืออุปนิสัย ลักษณะการกินอาหาร"
 ก็มีส่วนทำให้เกิดท้องอืดได้ เช่น เร่งรีบกินอาหาร เคี้ยวไม่ ละเอียด กินอาหารผิดเวลา กินอาหารจนอิ่มมากเกินไป หรือการล้มตัวลงนอนหลังจากกินอาหารเสร็จใหม่ๆ ล้วนเป็นลักษณะการกินอาหารที่ไม่ดี ทำให้เกิดท้องอืดได้
การกินลม
"การกินลม" (คนละความหมายของการนั่งรถ... กินลม...ชมวิว) หมายถึงการกลืนลมเข้าไปทางปาก และไหลลงไปในท้อง ทำให้กระเพาะอาหารมีแก๊สจำนวนมาก เกิดท้องอืดได้
ตัวอย่างการกินหรือกลืนลม ได้แก่ การพูดมากๆ (ลมเข้าปาก) การเคี้ยวหมากฝรั่ง การดูดลูกอมหรืออมยิ้ม การดูดนม ของเหลว หรือน้ำผ่านหลอดเล็กๆ การดื่มน้ำจากขวดปากแคบ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้กระเพาะอาหารมีลม หรือแก๊สมากขึ้นได้ทั้งสิ้น และทำให้ท้องอืดตามมาได้

ท้องอืดจากโรคของระบบทางเดินอาหาร 



โรคของระบบทางเดินอาหารหลายชนิดก็ทำให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย เช่น แผลกระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร (Gastro-esophageal Reflux Disease- GERD) กระเพาะอาหารอักเสบ มะเร็งกระเพาะอาหาร นิ่วถุงน้ำดี เป็นต้น


ท้องอืดจากยาบางชนิด แอลกอฮอล์ กาเฟอีน และบุหรี่


ยาที่เป็นสาเหตุโรคท้องอืดพบได้บ่อย คือยาลดการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti- inflammatory Drugs-NSAIDs) หรือเรียกตามชื่อย่อว่า เอ็นเสด เป็นยาที่มีฤทธิ์แก้อักเสบชนิดที่ไม่มีการติดเชื้อ ซึ่งมักใช้บรรเทาอาการอักเสบข้อ อักเสบกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และไข้ ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น แอสไพริน ไดโคลฟีแนก ไพร็อกซีแคม นาโพรซิน อินโดเมทาซิน เป็นต้น
ยากลุ่มนี้มีคุณสมบัติเป็นกรด ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย และถ้าใช้ยากลุ่มนี้ติดต่อกันนานๆ ก็อาจทำให้เกิดแผลกระเพาะอาหารได้ จึงขอบอกไว้ ณ ตอนนี้เลยว่าถ้าจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ ก็ควรกินหลังอาหารทันที และใช้เมื่อจำเป็น หรือเมื่อมีอาการเท่านั้น ถ้าอาการทุเลาลงมาก หรือหายดีแล้ว ก็ไม่แนะนำให้ใช้ติดต่อกันโดยไม่จำเป็น เพราะมีผลเสียรุนแรง
นอกจากยาที่ทำให้ท้องอืดได้แล้ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม โซดา เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน (กาแฟ ชา) และบุหรี่ ก็ทำให้ท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้


การดูแลโรคท้องอืดเบื้องต้นด้วยตนเอง


จากสาเหตุต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าพบต้นเหตุและสามารถขจัดหรือหลีกเลี่ยงเสียได้ อาการท้อง อืดก็จะทุเลาหรือหายได้ ซึ่งมีวิธีการดูแลรักษาง่ายๆ ดังนี้
1. การหลีกเลี่ยงสาเหตุ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ด้วยการรักษาสุขลักษณะการกินอาหารที่ดี เริ่มตั้งแต่การเลือกชนิดของอาหารที่ไม่มีปัญหาเรื่องท้องอืด อุปนิสัยการกินอาหาร และหลีกเลี่ยงการกินลม เช่น
o ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารผิดเวลา ด้วยการกินอาหารให้ตรงเวลา
o หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด มีไขมันสูง ย่อยยาก มีกากใยมากๆ นม เนย และประเภทโปรตีนสูง
o หลีกเลี่ยงการ " รีบกิน" การรีบเร่งกินอาหาร หรือเคี้ยวไม่ละเอียด ด้วยการกินช้าๆ พร้อมทั้งเคี้ยวและคลุกเคล้าอาหารให้เข้ากันดี ก่อนกลืนอาหาร
o ไม่ควรกินอาหารจนอิ่มมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อลง และแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ แต่กินบ่อยๆ แทนl หลังกินอาหารอิ่มใหม่ๆ ไม่ควรนอนราบทันที เพราะการนอนราบ ส่งผลให้ระดับของกระเพาะอาหารและหลอดอาหารจะอยู่ในระนาบเดียวกัน และอาจทำให้ กรดไหลจากกระเพาะอาหารย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร ได้ เกิดการระคายเคือง และหลอดอาหารอักเสบได้
o หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ น้ำอัดลม โซดา เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน (กาแฟ ชา) และ "การกินหรือกลืนลมลงท้อง " เช่น การพูดมากๆ การกลืน น้ำลายบ่อยๆ การเคี้ยวหมากฝรั่ง การดูดลูกอมหรืออมยิ้ม การดูดนม ของเหลว หรือน้ำผ่านหลอด การดื่มน้ำจากขวดปากแคบ ด้วยการดื่มน้ำจากแก้วแทนการใช้หลอดดูด
o หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDs (เอ็นเสด) ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ ควรปรึกษาแพทย์นอกจากนี้ ควรรักษาสุขภาวะที่ดี ด้วยการออกกำลังกาย ผ่อนคลายความตึงเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ


2. ยาขับลม แก้ท้องอืดยาที่ใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีมากมาย เช่น ยาธาตุน้ำแดง ยาธาตุน้ำขาว ยาขับลม ไดเมทิโคน ไซเมทิโคน ก๊าสเนป ยาลดกรด โซดามิ้นต์ เมโทรโคลพาไมด์ ดอมเพอริโดน เป็นต้น ยาเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ได้ผลดี


3. สมุนไพรไทยสมุนไพรไทยหลายชนิด ซึ่งรวมถึง " ยาหอม " จะช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้ผลดี เช่น ขิง น้ำขิง ขมิ้นชัน กานพลู ชะพลู พริกไทย กะเพรา ดีปลี กระเทียม เปล้าน้อย ลูกกระวาน เกล็ดสะระแหน่ เป็นต้น


ท้องอืดร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ 


ถ้าอาการท้องอืดไม่รุนแรง อาการทุเลา หายได้ด้วยเอง หรือจากการดูแลรักษาทั้ง 3 ประการคือ ปรับอาหารการกิน ยา ยาหอม หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลม แก้ท้องอืด ก็คงไม่เป็นปัญหา
รายที่มีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการติดต่อกันนานๆ น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซีด อุจจาระดำ อาเจียน กลืนอาหารไม่ได้ ตัวเหลือง ตาเหลือง การถ่ายอุจจาระผิดปกติ เหลว หรือแข็งเกินไป ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ มีอาการปวดร้าวและรุนแรงไปด้านหลัง ปวดบริเวณชายโครงด้านขวา หรือ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปที่เพิ่งเริ่มมีอาการ

ถ้ามีอาการเข้าข่ายตามนี้ ควรไปปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีโรคอื่นๆ ในช่องท้องอีกหลายโรค นอกเหนือจากท้องอืด ท้องเฟ้อ ที่จะต้องได้รับการดูแล รักษาอย่างเหมาะสมและทันเวลา มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายได้ เพราะอาการรุนแรงผิดปกติเหล่านี้อาจ เป็นอาการเริ่มต้นของโรคผิดปกติของระบบทางเดิน อาหารได้ เช่น แผลกระเพาะอาหาร นิ่วถุงน้ำดี มะเร็ง กระเพาะอาหาร โรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
http://www.dlfp.in.th/paper/150


ก๊าซในทางเดินอาหาร

ก๊าซในทางเดินอาหารเป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยได้กล่าวถึงเนื่องจากอาการเป็นไม่มาก หายเองได้ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่เป็น ปกติเราสามารถขับก๊าซส่วนเกินโดยการขับออกทางปากและขับทางก้น หากก๊าซนั้นไม่ถูกขับออกจากร่างกาย จะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหารสำหรับบางคนที่ไวก็อาจจะเกิดอาการท้องอืดแม้ว่าจะมีก๊าซไม่มาก


ก๊ายในทางเดินอาหารหากมีมากจะถูกขับทางโดยการผายลม ก๊าซในระบบทางเดินอาหารเกิดจากการที่เรา

สาเหตุของก๊าซในทางเดินอาหาร
ได้รับจากการกลืนเข้าไป
ผู้ที่มีความเครียด
เคี้ยวหมากฝรั่ง
มีน้ำมูกไหล
สูบบุหรี่
การกลืนอาหารเร็วไปไม่เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
ฟันปลอมที่ไม่พอดี
เครื่องดื่มที่มี carbonated จะทำให้เกิดก๊าซ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้

อาหารที่ย่อยไม่หมดโดยเฉพาะอาหารพวกแป้งที่มีใยอาหารจะไม่ถูกย่อย เมื่อผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่เชื้อแบคทีเรียจะย่อยสลายทำให้เกิดก๊าซ นอกจากนั้นน้ำตาลที่อยู่ในนมหากร่างกายไม่ย่อยก็ทำให้เกิดก๊าซมาก
ได้แก่อาหารพวก กะหล่ำปี ดอกกำหล่ำ ถัว บรอคโคลี หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวสาลี wheat, ข้าวโอ๊ต oats, มันฝรั่ง potatoes เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีใยอาหาร และแป้งมากมำให้ลำไส้เล็กดูดไม่หมด อาหารเหลือไปยังลำไส้ใหญ่เกิดการหมักทำให้เกิดก๊าซ
อาหารที่มีใยอาหารมาก เช่นเมล็ดธัญพืช ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ ทำให้เกิดอาการท้องอืด แต่หลังจาก 3 สัปดาห์จะปรับตัวได้ แต่บางคนอาการท้องอืดและมีก๊าซจะเป็นตลอด
นม ลำไส้บางคนขาดเอ็นไซม์ในการย่อยนม เมื่อดื่มนมจะทำให้ท้องอืด ลองงดนมอาการท้องอืดจะดีขึ้น

สาเหตุของการเรอบ่อย
การที่เราเรอส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่มีปริมาณก๊ายในกระเพาะมากทำให้กระเพาะขยายจึงเกิดอาการแน่นท้อง แต่บางท่าเรอจนติดเป็นนิสัยแม้ว่าปริมาณก๊าซในกระเพาะจะไม่มาก สาเหตุที่พบได้บ่อยๆได้แก่
มีการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะไปยังหลอดอาหาร ปกติเมื่อเรากลืนอาหารจะผ่านจากหลอดอาหารไปยังกระเพะอาหารซึ่งมีหูรูดกันไม่ให้กรด และอาหารไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร เมื่อมีปัจจัยส่งเสริมทำให้หูรูดหย่อน กรดและอาหารจะไหลย้อนไปยังหลอดอาหารทำให้เราต้องกลืนบ่อย ลมจึงเข้าไปมาก
มีการอักเสบหรือแผลที่กระเพาะอาหาร
วันหนึ่งรางกายผลิตก๊าซเท่าใด
วันหนึ่งๆร่างกายเราจะผลิตก๊าซวันละ ครึ่งแกลลอนซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ Oxygen, carbon dioxide, และ nitrogen เหมืออากาศ ไม่มีกลิ่น แต่ที่มีกลิ่นเนื่องจากหมักหมมของอาหารที่ลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดก๊าซ hydrogen sulfide, indole, and skatole
อาการแน่นท้อง
อาการแน่นท้องเป็นอาการที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์
อาการแน่นท้องไม่จำเป็นต้องเกิดจากก๊าซในทางเดินอาหารแต่อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆเช่น
อาหารมัน ซึ่งจะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้า เกิดอาการแน่นท้อง การแก้ไขทำได้โดยลดอาหารมัน
เกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป
ผู้ป่วยบางคนมีก๊าซไม่มากแต่มีอาการปวดท้องเนื่องจากลำไส้ของผู้ป่วยไวต่อการกระตุ้นทำให้เกิดอาการเกร็งของลำไส้ spasm
ผู้ป่วยบางคนพยายามที่จะเรอเอาลมออก แต่การกระทำดังกล่าวกลับทำให้กลืนลมเพิ่มขึ้น ทำให้แน่นท้องเพิ่มขึ้น
ก๊าซที่สะสมในลำไส้ใหญ่ข้างซ้ายอาจจะทำให้เกิดอาการปวดเหมือนกับโรคหัวใจ
หากเราเรอแล้วอาการแน่ท้องดีขึ้นก็แสดงว่าอาการแน่นท้องเกิดจากก๊าซ แต่หากอาการแน่นท้องไม่ดีขึ้นท่านต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการแน่นท้อง
อาการท้องอืดและท้องบวม
ท่านผู้อ่านคงจะเคยมีอาการรู้สึกแน่นท้อง บางคนจะรู้สึกตึงๆในท้อง บางคนจะรู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนมีอาการเสียดท้อง หากเราทราบสาเหตุและได้รับการแก้ไขอาการจะดีขึ้น แต่อาการแน่นท้องก็อาจจะเป็นอาการของท้องบวมซึ่งอาจจะเป็น
น้ำ
ลม
เนื้อเยื่อ เช่นเนื้องอก
ดังนั้นหากอาการแน่นท้องเป็นอาการเรื้อรัง และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเป็นมากต้องให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุของอาการท้องอืด
สาเหตุของอาการท้องอืด
สาเหตุของอาการท้องอืดที่พบบ่อยๆได้แก่
มีลมในทางเดินอาหารมากไป ซึ่งอาจจะเกิดจากร่างกายของคนนั้นมีเชื้อที่สร้างก๊าซมากกว่าคนอื่น หรือเกิดจากการที่อาหารไม่ย่อย หรือเกิดจากร่างกายมีเชื้อแบคทีเรียในลำไส้มากไป
ลำไส้มีการอุดตันทำให้ก๊าซไม่สามารถไปลำไส้ใหญ่ เช่น ไส้เลื่อนที่อุดตัน ผังผืดในท้องรัดลำไส้เป็นต้น ผู้ที่มีโรคดังกล่าวจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน
ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลำไส้แปรปวน อาหารที่มัน หรือมีกากมาก
ผู้่วยที่มีลำไส้ไวต่อการกระตุ้น แม้ว่าก๊าซในลำไส้อาจจะไม่มากแต่ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง
การตรวจวินิจฉัย
ประวัติการเจ็บป่วย
เมื่อท่านไปพบแพทย์ท่านจะต้องเตรียมประวัติของการเจ็บป่วย
อาการแน่นท้องเป็นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นๆหายๆ หากเป็นอย่างต่อเนื่องต้องตรวจหาสาเหตุ
อาการแน่นท้องสัมพันธ์กับการผายลมหรือไม่ หากมีความสัมพันธ์แสดงว่าเรามีก๊าซในท้องมาก
ประวัติการรับประทานอาหารที่สัมพันธ์กับอาการแน่นท้อง
การ``X-ray
แพทย์อาจจะส่งตรวจX-ray ท้องหรืออาจจะนัดตรวจ ultrasound ซึ่งขึ้นกับอาการและการตรวจร่างกาย
การป้องกันก๊าซ
ข้อแนะนำสำหรับท่านที่ผายลมบ่อยหรือเรอบ่อย
หลีกเลี่ยงน้ำดื่มที่มีฟองฟู่ เช่นโซดา เบียร์ carbonated beverages ให้ดื่มน้ำมากๆ
หลีกเลี่ยงนม หากท่านขาดเอ็นไซม์ในการย่อยนม
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ กะหล่ำปี ดอกกำหล่ำ ถัว บรอคโคลี หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ผลไม้เช่น แอปเปิล แพร์
ให้ออกกำลังกาย
ลดการกลืนลมโดยวิธีการต่อไปนี้
รับประทานให้ช้า และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งและลูกอม
หยุดสูบบุหรี่
ตรวจฟันปลอมว่ามีขนาดพอดีหรือไม่
การใช้ยารักษา
ท่านอาจจะซื้อยาที่มีขายตามร้านขายาแต่อาจจะได้ผลไม่ดีได้แก่ Simethicone, ผงถ่าน, และยาช่วยย่อยอาหาร

ทำไมเรานอนไม่หลับ ?
มีบ้างไหมที่ท่านนอนไม่หลับ พอท่านไปร่วมประชุม นั่งสัปหงก หรือ ขณะขับรถรถติดปุ๊บหลับผล๊อยเลย หรือ บ่อยครั้งที่หลับขณะนั่งดูตลกหรือเกมส์โชว์ หากท่านเคยแสดงว่า ท่านเสี่ยงต่อการเป็นโรคนอนไม่หลับหรือหลับไม่พอแล้ว
ข้อแนะนำจาก ข่าวสารกรมสุขภาพจิต ISSN 0125-6475 ในเรื่อง อาการนอนไม่หลับ จะพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในทางจิตวิทยาอธิบายได้ว่า ผู้หญิงจะมีเรื่องคิดวิตกกังวลมากกว่าผู้ชาย
ดังนั้นจึงแบ่งลักษณะอาการนอนไม่หลับ ออกเป็น 3 ประการ ตามลักษณะสาเหตุดังนี้
1.นอนไม่หลับชั่วคราว(Transient insomnia) มักพบในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน หรือ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ เฉพาะร่างกายจะขาดสมดุลจากการปรับเปลี่ยนกระทันหัน
2.นอนไม่หลับระยะสั้น(Shot-term insomnia) มักเป็นแค่ 2-3 วัน จนถึง 3 สัปดาห์ มักพบในภาวะเครียด วิตกกังวล เช่น ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด หรือคนที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
3.นอนไม่หลับเรื้อรัง(Long-term insomnia) อาจเป็นเดือน หรือเป็นปี อาจเป็นผลมาจากการใช้ยานอนหลับ การเจ็บป่วยเรื้อรัง
ผลการวิจัยเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ จากมหาวิยาลัยมหิดล ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุบนท้องถนนที่นอกเหนือจากการเมาแล้วพบว่า 20 % เกิดจากการหลับใน การที่อดนอนมากๆมีผลเท่ากับการดื่มเหล้าจนเมาเลยทีเดียว เพราะการนอนไม่พอทำให้สมองเบลอ ประสิทธิภาพในการคิด ตัดสินใจลดลง นอนไม่หลับมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากกว่าที่คิด มาลองสำรวจสุขอนามัยการนอนกันดูสิว่า ท่านมีสุขอนามัย ด้านใดที่ต้องปรับปรุงบ้าง
1.ตื่นและนอนไม่เป็นเวลา
2.คืนวันศุกร์ ขอเที่ยวสนุกให้เต็มที่ แล้วควรชดเชยด้วยคืนวันเสาร์
3.งีบหลับในช่วงกลางวัน
4.ดื่มกาแฟและสูบบุหรี่ หลังเที่ยงวันไปแล้ว
5.รับประทานอาหารมื้อใหญ่ ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มมากๆก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง
6.นำปัญหาต่างๆมาทบทวน ขบคิดก่อนเข้านอน
7.ซื้อยานอนหลับมารับประทานเป็นประจำ
ผลสำรวจหากท่านมีพฤติกรรมข้องหนึ่งข้อใดในเจ็ดข้อ แสดงว่าท่านมีสุขอนามัยในการนอนที่ไม่ถูกต้อง ควรรีบปรับปรุงด่วนเลย ก่อนที่ท่านจะเป็นโรค"นอนไม่หลับ"
ข้อแนะนำต่อไปนี้ จะช่วยท่านปรับปรุงสุขอนามัยในการนอนได้เป็นอย่างดี ท่านลองพิจารณาเลือกข้อที่ได้ผลดีสำหรับตัวท่าน อย่าลืมว่า ท่านจะมีการตอบสนองที่ต่างกัน ถ้าหากท่านปฎิบัติแล้วจะรู้สึกว่า เมื่อตื่นนอนไม่มีอาการเพลีย และ รู้สึกกระปรี้กระเปร่า นั้นแสดงว่า ท่านนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอแล้ว
ข้อแนะนำจาก ข่าวสารกรมสุขภาพจิต ISSN 0125-6475 ในเรื่อง"ข้อแนะนำ 8 ประการที่ผู้นอนไม่หลับควรนำไปปฎิบัติ" ดังนี้
1. ตรงเวลา ร่างกายของเรามีนาฬิกาชีวภาพ(Biological Clock) ที่เป็นตัวกำหนดให้ง่วงและตื่นนอนให้เป็นเวลา การทำอะไรให้ตรงเวลา เช่น การเข้านอน - ตื่นนอน จะทำให้ร่างกายไม่ต้องปรับตัวมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุของการนอนหลับยาก
2.นอนกลางคืน คนเราควรนอนกลางคืน(ถ้าไม่ติดเงื่อนไขในอาชีพ) ไม่ควรนอนกลางวันมากเกิน 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะหลังการนอนกลางวันมากๆจะทำให้กลางคืนนอนไม่หลับ
3.หลีกเลี่ยงกาแฟอีน - นิโคตินและแอลกอฮอล์ ท่านควรงดดื่มกาแฟ-สูบบุหรี่หลังเที่ยงวันไปแล้ว เนื่องจากนิโคตินมีฤทธิ์กระตุ้นปราสาท การดื่มแอลกอฮอล์ช่วยให้หลับง่ายขึ้นก้อจริง แต่จะมีผงต่อสุขภาพของการนอน เนื่องจากคนที่หลับจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ช่องทางเดินหายใจจะหย่อน เกิดอาการกรน บางครั้งมีภาวะหยุดหายใจเป็นพักๆ(Sleep apnia)ทำให้หลับไม่สนิท
4.อย่ารับประทานเยอะ การรับประทานอาหารในงานเลี้ยงสังสรรค์ ทำให้ต้องรับประทานอาหาร-เครื่องดื่มมากๆ เมื่อกลับมานอนทันที จะมีผลต่อระบบการย่อยอาหาร พราะอาหารในกระเพาะจะขย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร ทำให้แน่นท้อง แน่นหน้าอก การดื่มเครื่องดื่มมากๆก็มีผลต่อการนอนเช่นกัน เพราะต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำบ่อยๆในกลางดึก
ทางแก้ คือ ควรนอนหลับรับประทานอาหารไปแล้วสัก 2 ชั่วโมง ปรับหัวเตียงให้สูงกว่าปลายเตียง นอนตะแคงขวา เพื่อให้อาหาร-น้ำ-ลมในกระเพาะใหล่ลงสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น
5.ออกกำลังกาย เป็นวิธีที่จะทำให้หลับง่ายและหลับได้ลึก ทำให้หายเหนื่อยและกระปรี้กระเปร่า เวลาที่ดีที่สุดของการออกกำลังกาย คือ ต่อนบ่าย ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการนอน ทำให้หลับยาก
6.มืด และ เงียบ ห้องนอนควรมืด และเงียบไม่มีเสียงรบกวน อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนและเย็นเกินไป หากท่านนอนไม่หลับ ภายใน 15 นาที อย่าพยายามข่มตา ให้ลุกขึ้นมาทำอะไรก็ได้จนกว่าจะรู้สึกอ่อนเพลีย แล้วค่อยกลับไปนอนใหม่ อย่ากังวลว่า นอนไม่หลับเพราะ ความกังวลจะทำให้หลับยาก
7.ผ่อนคลาย ก่อนนอนควรหากิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น อาบน้ำอุ่น นวดมือและเท้าด้วยโลชั่น สวมถุงเท้า เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นขณะนอน และไม่ควรนำปัญหาต่างๆมาขบคิดขณะเข้านอน ควรทำจิตใจให้ว่างสบายๆ
8.ยานอนหลับ ไม่ควรใช้ยานอนหลับเป็นอันขาด ยกเว้นมีความจำเป็นและการใช้ต้องอยู่ในพินิจของหมอ พึงระลึกเสมอว่า การใช้ยานอนหลับเป็นครั้งคราวอาจเป็นประโยชน์ แต่ต้องทานติดต่อกันจะไม่ผลดีต่อร่างกาย
หลังจากที่ท่านสำรวจสุขอนามัยในการนอนและลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแล้ว เชื่อแน่ว่าหลายท่านคงจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าไม่มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อตื่นนอน นั่นแสดงว่า ท่านไม่มีปัญหาเรื่อง การนอนอีกต่อไป เป็นผลดีต่อสุขภาพกาย-จิตใจอีกด้วย แต่สำหรับคนที่ปฎิบัติแล้วยังนอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการนอนไม่หลับต้องหาสาเหตุและรักษาให้ตรงจุด.
จากบทความ"ชีวิตและสุขภาพ"โดย นพ.สุรพงศ์ อำพันวงศ์ 7 ต.ค. 50
...............................................

นอนไม่หลับ




ความต้องการในการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อายุ สภาพร่างกาย และสุขภาพโดยทั่วไป ตัวอย่างเช่น คนที่มีอายุน้อยจะต้องการนอนหลับพักผ่อนมากกว่าผู้สูงอายุ สภาพร่างกายคนบางคนพักผ่อนน้อยก็สดชื่นทำงานได้ดี และในคนที่สุขภาพไม่ดีมีโรคทางกายก็ต้องการการพักผ่อนมากกว่าคนที่สุขภาพดีกว่า เป็นต้น

โดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนหลับพักผ่อนเป็นเวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมง เมื่อตื่นขึ้นก็สดชื่น พร้อมที่จะทำงานและไม่ต้องการนอนพักผ่อนตอนกลางวันอีก อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะต้องการเวลานอนน้อยหรือมากกว่านั้น บางคนนอนเพียงหกชั่วโมงครึ่ง ก็พักผ่อนเพียงพอ แต่บางคนอาจต้องนอนนานกว่าแปดชั่วโมงครึ่ง บางคนอาจนอนดึกและตื่นสายเป็นประจำ ในขณะที่บางคนเข้านอนแต่หัวค่ำและตื่นแต่เช้าตรู่

นักวิจัยศึกษาพบว่า โดยทั่วไปคนปกติจะหลับภายใน 10-15 นาทีหลังจากล้มตัวลงนอน ส่วนใหญ่มักจะไม่ตื่นขึ้นเลยในตอนดึก นั่นคือนอนหลับรวดเดียวจนถึงรุ่งเช้า แต่ถ้าตื่นขึ้นมาบ้าง ก็จะหลับต่อได้ในชั่วเวลาเพียงไม่กี่นาที การนอนไม่หลับไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เครียดหรือไม่สบายใจ ความผิดปกติทางกายหรือจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมบางอย่าง เช่น การแปลกสถานที่ เป็นต้น

บางคนสงสัยว่าเมื่อใดจึงจะเรียกว่า มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ โดยทั่วไปมีข้อสังเกตง่ายๆ ว่า เมื่อรู้สึกว่านอนไม่หลับ หลับไม่สนิทหรือหลับไม่พอเป็นเวลา 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน และรู้สึกวิตกกังวลต่ออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับหน้าที่การทำงานที่แย่ลง ก็จะถือว่านอนไม่หลับเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข

การนอนไม่หลับแบบชั่วคราว หมายถึง นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นหลายวัน แต่ไม่ถึงหลายสัปดาห์ คนไม่น้อยอาจจะเคยประสบกับปัญหาเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความเครียดหรือความกังวลใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น ทะเลาะกับเพื่อนหรือแฟน มีปัญหากับที่ทำงาน หรือใกล้ๆ วันสอบหรือวันที่ต้องมีธุระสำคัญเป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน หรือในบางรายอาจต้องใช้ยานอนหลับช่วยในระยะสั้นๆ พออาการดีขึ้นก็หยุดยาได้

การนอนไม่หลับแบบระยะต่อเนื่อง หมายถึง อาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นอย่างต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ๆ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือดีขึ้น ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากความเครียดหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดนั้นยังไม่คลี่คลาย เช่น การ ตกงาน ปัญหาเศรษฐกิจเงินทอง รวมถึงปัญหาครอบครัว โดยทั่วไปถ้าปัญหาต่างๆ ได้รับการคลี่คลาย การนอนหลับก็มักจะกลับมาเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ควรได้รับคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ว่ามีแนวทางอย่างไรที่จะช่วยปัญหาการนอนหลับของตน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื้อรัง

ผู้ที่นอนไม่หลับแบบเรื้อรัง จะมีปัญหาในการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องเกือบทุกคืน ติดต่อกันหลายเดือน หรือแม้กระทั่งเป็นปี สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการก็จะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น ไม่ตรงไปตรงมาเพียงแค่ว่าเครียดแล้วนอนไม่หลับ หลายครั้งที่ความเครียดได้เบาบางหรือหายไปหมดแล้ว แต่อาการนอนไม่หลับกลับยังดำเนินอยู่ต่อ บางคนใจจดใจจ่อตลอดเวลาว่าคืนนี้จะหลับหรือไม่หลับ ถ้าไม่หลับแล้วพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร จะทำงานได้อย่างแจ่มใสหรือไม่ ทำให้เกิดความรู้สึกกลัวการนอน ไม่กล้าที่จะนอน เลยทำให้แทนที่เวลานอนจะเป็นเวลาที่ให้ความสุข กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความทุกข์และทรมาน

นอกจากนี้แล้วยังพบได้อยู่เรื่อยๆ ว่า สาเหตุทางร่างกายบางอย่างก็เป็นต้นเหตุทำให้นอนไม่หลับเรื้อรังได้ เช่น การหายใจผิดปกติขณะหลับ กล้ามเนื้อขากระตุกเป็นพักๆ ระหว่างนอน อาการปวดหรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคปอด เป็นต้น

การนอนไม่หลับเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของการนอนไม่หลับ เกิดจากปัจจัยทางกาย ทางจิตใจ และสภาพแวดล้อมของการนอน ปัจจัยทางกาย ได้แก่ โรคที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก หายใจไม่สะดวกหรือผลจากยา และสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น กาแฟ ปัจจัยทางจิตใจ ได้แก่ เหตุการณ์ในชีวิตที่เกิดขึ้น อาจเป็นเรื่องที่ทำให้เสียใจ ไม่สบายใจ หรือเป็นอาการเริ่มแรกของโรคทางจิตบางอย่าง ส่วนสภาพแวดล้อมของการนอน ได้แก่ สภาพห้องนอน หรือการแปลกต่อสถานที่ก็อาจทำให้นอนไม่หลับได้

อาการปวด ไม่ว่าจะเป็นจากอาการปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดจากสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ จะรบกวนคุณภาพและประสิทธิภาพการนอนหลับอย่างมาก

การหายใจผิดปกติระหว่างหลับ พบได้บ่อยทีเดียวว่าสาเหตุของนอนไม่หลับเรื้อรังนั้นเป็นจากกลุ่มอาการหายใจผิดปกติในขณะหลับ หรือหยุดหายใจเป็นพักๆ ในขณะหลับ ทำให้สมองขาดออกซิเจนเป็นพักๆ เปรียบเหมือนกับคนถูกรัดคอเป็นพักๆ ทำให้ต้องรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเพื่อหายใจซ้ำในหลายครั้ง ตนเองนั้นอาจจะจำไม่ได้ หรือไม่รู้สึกตัวตื่นในขณะที่สมองต้องตื่นขึ้นมา เพื่อหายใจ อาจรู้สึกแต่เพียงว่าเมื่อคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดีพอ หลับได้ไม่ลึก ไม่สดชื่น อาการหยุดหายใจที่กล่าวมานั้นจะเกิดขึ้นเป็นพักๆ อาจหลายสิบจนกระทั่งถึงหลายร้อยครั้งได้ในแต่ละคืน

ขากระตุกเป็นพักๆ ระหว่างหลับ ในบางรายจะพบว่าในขณะที่หลับนั้น กล้ามเนื้อที่ขาจะมีอาการกระตุกเร็วๆ เป็นพักๆ ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะประมาณทุกๆ 30-45 วินาที และอาจจะต่อเนื่องเป็นชั่วโมง หลายรอบต่อคืน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ จะทำให้สมองตื่นเป็นพักๆ โดยที่คนผู้นั้นอาจไม่รู้สึกตัวตื่น ผลในตอนเช้าก็คือ จะรู้สึกว่าคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดี

บางคนนอนไม่หลับเนื่องจากใจไม่สงบ หรือจิตไม่มีสมาธิ ใจไม่สงบก็เพราะใจมันไปยึด ห่วง กังวล วิตก ทุกข์ ร้อน กลัว เกลียด โกรธ โลภ หลง ฯ ไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หลายๆ อย่างผสมกัน แล้วฝังแน่นอยู่ในส่วนลึกของจิต จนเกิดความเครียดขึ้นมาในจิตใจ โดยที่บางครั้งก็ไม่รู้ตัวว่าเกิดจากอะไร พึงระลึกไว้เสมอว่าไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ ที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ การแก้ปัญหาการนอนไม่หลับก็เช่นเดียวกัน จะแก้ให้เด็ดขาด ต้องค้นหาให้พบต้นเหตุก่อน แล้วขจัดสาเหตุเสีย

ลักษณะอาการที่พบร่วมกับอาการนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับมักพบร่วมกับอาการของความเครียด ความไม่สบายใจ และเมื่อเริ่มนอนไม่หลับ เราก็มักจะเริ่มรู้สึกกลัวการนอนไม่หลับ หมกมุ่นเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ พยายามบังคับให้ตนเองนอนให้หลับ โดยปกติการนอนเป็นธรรมชาติบังคับไม่ได้ ทำให้การนอนในคืนถัดไปแย่ลงจากความกังวลของเราเอง เกิดเป็นวงจรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนอนไม่หลับรุนแรงมากขึ้น ถึงแม้บางครั้งสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับจะหมดไปแล้วก็ตาม

ผลเสียต่อสุขภาพ

การนอนไม่หลับจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอาจทำให้เกิดโรคทางกาย หรือทำให้โรคทางกายแย่ลง ส่วนทางจิตใจก็จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ ความเครียด ไม่มีสมาธิในการทำงาน กลัวว่าจะเป็นโรคร้ายแรง หรือกลัวการนอนไม่หลับได้

ผู้ที่นอนไม่หลับควรมาพบแพทย์ เมื่อการนอนไม่หลับเกิดเป็นปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้นเพราะการที่มาพบแพทย์เร็วจะทำให้พบสาเหตุโดยเร็ว การรักษาจะง่ายขึ้นถ้าปล่อยให้เป็นมาก การรักษาจะยากขึ้น หรือถึงแม้ว่าจะไม่มีโรคใดๆ ก็ตาม ก็จะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติเกี่ยวกับการนอนหลับที่ถูกต้อง ทำให้ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตได้

ปัญหาความไม่สบายใจเพียงเล็กน้อย แล้วทำให้นอนไม่หลับ อาจนำไปสู่ปัญหาการนอนไม่หลับที่รุนแรงและการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องได้อย่างมาก การมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็วตั้งแต่แรก จะทำให้ปัญหารุนแรงน้อยลง รวมทั้งป้องกันปัญหาการนอนไม่หลับในอนาคตได้ด้วย

การปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอน
ตื่นนอนให้เป็นเวลา ถึงแม้จะนอนได้น้อยเพียงใดก็ตาม การตื่นนอนตรงเวลาจะทำให้ร่างกายปรับวงจรการนอนปกติได้ในคืนถัดไปจะทำให้หลับได้ง่ายขึ้นเอง
จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้ดี เช่น อากาศที่ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป เสียงไม่ดังเกินไป แสงต้องไม่สว่างมากเกินไป
ใช้เตียงนอนเพื่อการนอนเท่านั้น ห้ามใช้ทำกิจกรรมอื่น เช่น อ่านหนังสือ หรือทำงานเล็กๆ น้อยๆ ควรจะนอนก็ต่อเมื่อรู้สึกง่วง ถ้านอนไม่หลับใน 10 นาที ให้ลุกจากเตียงไปทำกิจกรรมที่สบายใจ เมื่อง่วงจึงมานอนใหม่
ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอทุกวันในตอนเย็น ห้ามออกก่อนนอนเพราะคิดว่าจะทำให้เพลียหลับง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้หลับยากขึ้นกว่าเดิม จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในผู้สูงอายุนั้นมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับที่ดีขึ้น
งดสารกระตุ้นหลังเที่ยงวัน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม การดื่มเหล้าเบียร์ทำให้หลับง่ายตอนแรกแต่จะทำให้หลับไม่สนิท
การอาบน้ำอุ่น ดื่มนมอุ่น ๆ การผ่อนคลายต่าง ๆ เช่น การทำสมาธิ การบังคับจังหวะลมหายใจเข้าออก การสะกดจิตตนเอง ช่วยให้หลับง่ายขึ้นและหลับสบาย
ถ้ารับประทานอาหารก่อนเข้านอน อย่าให้หนักท้องมาก หรือตรงข้ามอย่าปล่อยให้หิวมากก่อนเข้านอน เพราะความหิวหรืออึดอัดแน่นในท้องจากอิ่มมากไปก็รบกวนการนอนของได้ การรับประทานนม หรือกล้วย อาจทำให้การนอนของท่านดีขึ้น เพาะอาหารเหล่านี้มีสารทริปโทแฟน ซึ่งช่วยในการนอนหลับ
อย่าบังคับให้นอนหลับ เพราะบังคับไม่ได้ หรืออย่าคิดว่าการนอนคืนนี้จะเหมือนคืนก่อน จะทำให้เกิดความกังวลมาก ทำให้หลับยากขึ้น
ไม่ควรนอนชดเชยตอนกลางวัน จะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน แต่ถ้าจะมีการงีบหลับในช่วงบ่าย อาจจัดเวลางีบหลับให้เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยไม่ควรเกิน 1-2 ชม. และไม่ควรงีบหลับหลัง 15.00 น. เพราะอาจมีผลต่อการนอนหลับในคืนนั้นๆ ได้
ควรระมัดระวังเรื่องการใช้ยานอนหลับ ไม่ควรใช้ยานอนหลับอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะการใช้ยานอนหลับอย่างต่อเนื่องในระยะหนึ่งนั้น จะไปมีผลรบกวนต่อสรีรวิทยาการนอนหลับที่เป็นปกติได้ อาจทำให้ติดยา และเมื่อหยุดยาจะทำให้นอนไม่หลับมากขึ้นกว่าเดิม
บางคนกังวลเรื่องการนอนมากเกินไป คิดไปเองว่ามีปัญหาโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่นอนได้น้อยลง เกรงว่าจำนวนชั่วโมงที่นอนหลับจะน้อยเกินไป ปกติทารกแรกเกิดนอนวันละ 20 ชั่วโมง หนุ่มสาวต้องการเพียง 7-8 ชั่วโมง และเมื่อเข้าวัยกลางคนต้องการเวลานอนเพียง 4 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 5 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
http://www.ecitizen.go.th/view.php?SystemModuleKey=&id=605



การนอนไม่หลับ
การนอนไม่หลับ
การนอนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คนเราใช้เวลาหนึ่งในสามในการนอนแต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนอนเท่าใด คนเราจะมีช่วงที่ง่วงนอน 2ช่วงคือกลางคืน และตอนเที่ยงวันจึงไม่แปลกใจกับคำว่าท้องตึงหนังตาหย่อนในตอนเที่ยง


กลไกการนอนหลับ
เมื่อความมืดมาเยือนเซลล์ที่จอภาพ[retina] จะส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใน hypothalamus ซึ่งจะเป็นที่สร้างสาร melatonin สาร melatonin สร้างจาก tryptophan ทำให้อุณหภูมิลดลงและเกิดอาการง่วง การนอนของคนปกติแบ่งออกได้ดังนี้
การนอนช่วง Non-rapid eye movement {non- (REM) sleep} การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมากเพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาการและมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone การนอนช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่โดยการหลับจะเริ่มจากระยะที่1ไปจน REMและกลับมาระยะ1ใหม่
Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า
Stage 2 (so-called true sleep).ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles
Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ delta waves และ Stage 4ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุดตาจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย
การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาที หลังจากนอนช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว ชีพขจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้
เราจะใช้เวลานอนร้อยละ50ใน Stage 2 ร้อยละ 20ในระยะ REM ร้อยละ30 ในระยะอื่นๆ การนอนหลับครบหนึ่งรอบใช้เวลา 90-110นาที คนปกติต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมงโดยหลับตั้งค่ำจนตื่นในตอนเช้า คนสูงอายุการหลับจะเปลี่ยนไปโดยหลับกลางวันเพิ่มและตื่นกลางคืน จำนวนชั่วโมงในการนอนหลับแต่ละคนจะไม่เหมือนกันบางคนนอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมงโดยที่ไม่มีอาการง่วงนอน
อาการนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะหลับไม่พอทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น บางคนอาจจะหลับยากใช้เวลามากว่า 30นาทียังไม่หลับ บางคนตื่นบ่อยหลังจากตื่นแล้วหลับยาก บางคนตื่นเช้าเกินไป ทำให้ตื่นแล้วไม่สดชื่น ง่วงเมื่อเวลาทำงาน อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นชั่วคราวเมื่อภาวะกระตุ้นหายก็จะกลับเป็นปกติแต่ถ้าหากมีอาการเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการเรื้อรัง
การวินิจฉัย
แพทย์จะถามคำถาม 4คำถามได้แก่
ให้อธิบายว่ามีปัญหานอนไม่หลับเป็นอย่างไร
นอนไม่หลับเป็นมานานเท่าใด
เป็นทุกทุกคืนหรือไม่
สามารถทำงานตอนกลางวันได้หรือไม่
แพทย์จะค้นหาว่าอาหารนอนไม่หลับนั้นเกิดจากโรค จากยา หรือจากจิตใจ
คนเราต้องการนอนวันละเท่าใด
ความต้องการการนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น
เราอาจจะทราบว่านอนไม่พอโดยดูจาก
เวลาทำงานคุณมีอาการง่วงหรือซึมตลอดวัน
อารมณ์แกว่งโกรธง่ายโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอกับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน
หลับภายใน 5 นาทีหลังจากนอน
บางคนอาจจะหลับขณะตื่นโดยที่ไม่รู้ตัวทั้งหมดเป็นการแสดงว่าคุณนอนไม่พอคุณต้องเพิ่มเวลานอนหรือเพิ่มคุณภาพของการนอน
การนอนหลับจำเป็นอย่างไรต่อร่างกาย
ร่างกายเราเหมือนเครื่องจักรทำงานตลอดเวลาการนอนเหมือนให้เครื่องจักรได้หยุดทำงาน สะสมพลังงานและขับของเสียออก การนอนจึงจำเป็นสำหรับร่างกายมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีการศึกษาว่าการนอนไม่พอจะมีอันตรายการประสานระหว่างมือและตาจะเหมือนกับผู้ที่ได้รับสารพิษ ผู้ที่นอนไม่พอหากดื่มสุราจะทำให้ความสามารถลดลงอ่อนเพลียมาก การดื่มกาแฟก็ไม่สามารถทำให้หายง่วง
มีการทดลองในหนูพบว่าหากนอนไม่พอหนูจะมีอายุสั้น ภูมิคุ้มกันต่ำลง สำหรับคนหากนอนไม่พอจะมีอาการง่วงและไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ความสามารถในการคำนวณด้อยลง หากยังนอนไม่พอจะมีอาการภาพหลอน อารมณ์จะแกว่ง การนอนไม่พอเป็นสาเหตุของอุบัติต่างๆ เชื่อว่าเซลล์สมองหากไม่ได้นอนจะขาดพลังงานและมีของเสียคั่ง นอกจากนั้นการนอนหลับสนิทจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (growth hormone)
จะปรึกษาแพทย์เมื่อไร
ถ้าหากอาการนอนไม่หลับเป็นมากกว่า 1 สัปดาห์ หรือทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลากลางวัน ก่อนพบแพทย์ควรทำตารางสำรวจพฤติกรรมการนอนประมาณ 10 วันเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย ในการรักษาแพทย์จะแนะนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอน ถ้าไม่ดีจึงจะให้ยานอนหลับ
การนอนหลับอย่างพอเพียงทั้งระยะเวลาและคุณภาพของการนอนหลับจะเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีเหมือนกับการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และการออกกำลังกาย


สาเหตุของการนอนไม่หลับ
แบ่งได้เป็นเหตุใหญ่ๆดังนี้

สาเหตุจากทางด้านจิตใจ ( Psychologic Causes of Insomnia )ผู้ป่วยจำนวนมากเกิดจากทางด้านจิตใจ เช่นโรคเครียด โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ 70จะมีอาการนอนไม่หลับเป็นอาการสำคัญ
ปัจจัยกระตุ้นให้นอนไม่หลับ (Precipitating Factors of Transient Insomnia) มักจะเป็นชั่วคราวเช่น
Adjustment Sleep Disorder เป็นภาวะนอนไม่หลับที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เพิ่งเกิด เช่นผลจากความเครียด จากการเจ็บป่วย ผ่าตัด การสูญเสียของรัก จากงาน เมื่อปัจจัยกระตุ้นหายอาการนอนไม่หลับจะกลับสู่ปกติ
Jet Lag ผู้ป่วยเดินบินข้ามเขตเวลาทำให้เปลี่ยนเวลานอนร่างกายปรับตัวไม่ทันจะทำให้นอนยาก
Working Conditions เช่นคนที่เข้าเวรเป็นกะๆทำให้นาฬิกาชีวิตเสียไป ทำให้นอนไม่เป็นเวลา
Medications นอนไม่หลับจากยา เช่นกาแฟ ยาลดน้ำมูก
นอนไม่หลับจากโรค Medical and Physical Conditions หากคุณมีโรคบางโรคก็อาจจะทำให้คุณนอนไม่หลับเช่น

โรคบางโรคขณะเกิดอาการจะทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ เช่นโรคหอบหืด โรคหัวใจวาย ภูมิแพ้ โรคสมองเสื่อม Alzheimer โรคparkinson โรคคอพอกเป็นพิษ
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ฮอร์โมน progesteron จะทำให้ง่วงนอนช่วงไข่ตกจะมีฮอร์โมน progesteron สูงทำให้ง่วงนอน แต่ช่วงใกล้ประจำเดือนฮอร์โมนจะน้อยทำให้อาจจะมีอาการนอนไม่หลับ การตั้งครรภ์ระยะแรกและระยะใกล้คลอดจะมีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ช่วงแรกของหญิงวัยทองก็มีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน
นอนไม่หลับจากการเปลี่ยนเวลานอน Delayed Sleep-Phase Syndrome เมื่อถึงเวลานอนแต่ไม่ได้นอนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน
ปัจจัยส่งเสริมอาการนอนไม่หลับ Perpetuating Factors มีหลายภาวะที่ส่งเสริมให้นอนไม่หลับ
Psychophysiological Insomnia เกิดจากนอนก่อนเวลานอนแล้วนอนไม่หลับ เรียก Advanced sleep phase Syndrome ทำให้คนผู้นั้นพยายามที่จะนอน กระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา ไม่ผ่อนคลายจนกลายเป็นความเครียด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะ ชีพขจรเร็ว ตื่นง่าย อุณหภูมิจะสูงกว่าปกติ
นอนไม่หลับจากสารบางชนิด เช่นกาแฟ สุรา การดื่มกาแฟหรือสุราตอนกลางวันถึงกลางคืนอาจจะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน การดื่มสุราเล็กน้อยก่อนนอนจะช่วยลดความเครียดทำให้หลับดีขึ้นแต่ถ้าหากดื่มมากจะทำให้หลับไม่นานตื่นง่าย ช่วงที่อดสุราก็จะมีปัญหาหลับยาก ผู้ที่สูบบุหรี่จะนอน 3-4 ชั่วโมงแล้วตื่นเนื่องจากระดับ nicotin ลดลง
การที่ระดับ melatonin ลดลงระดับ melatonin จะมีมากในเด็กและลดลงในผู้ใหญ่หลังอายุ 60 ปีจะมีน้อยมาก
จากแสง จากความรู้ข้างต้นแสงจะกระตุ้นให้ตื่นแม้ว่าจะรี่แสงแล้วก็ตาม
นอนไม่หลับในวัยเด็ก พ่อแม่ที่เวลานอนไม่สม่ำเสมอจะทำให้เด็กนอนไม่หลับในตอนโต
การออกกำลังตอนใกล้เข้านอน การทำงานที่เครียดก่อนนอน
การที่นอนและตื่นไม่เป็นเวลา
สิ่งแวดล้อมในห้องนอนไม่ดี เช่นร้อน หนาว แสงจ้าไป เสียงดังไป รวมทั้งลักษณะการนอนของคนใกล้ชิด เช่นนอนดิ้น นอนกรนเป็นต้น
หากท่านยังไม่ทราบสาเหตุให้กรอก ความต้องการการนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น
คนปกติควรจะได้นอนวันละ 8 ชั่วโมงผู้หญิงก็เช่นกันควรจะนอนวันละ 8 ชั่วโมงเพราะหากนอนน้อยจะทำให้เกิดผลเสียเช่น ง่วงในเวลากลางวัน เกิดอุบัติเหตุ สมาธิไม่ดี เจ็บป่วยง่าย แต่สำหรับคุณผู้หญิงอาจจะมีปัญหาเรื่องการนอนเนื่องจากมีผลของฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้อง
ประจำเดือนกับการนอนหลับ
ระยะก่อนไข่ตกคือตั้งแต่วันที่1-12 ของรอบเดือน ระยะ5วันแรกจะมีประจำเดือนระยะนี้มีระดับ progesterone ต่ำอาจจะประสบปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ
ระยะไข่ตกคือวันที่13-14ของรอบเดือน ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมอีก 14 วันก็จะเกิดรอบเดือนใหม่
ระยะหลังไข่ตกคือตั้งแต่วันที่15-28 ระดับ progesterone จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 15-21 สูงสุดช่วงวันที่ 19-21 ช่วงนี้จะหลับได้ดี แต่หลังจากวันที่22 ระดับฮอร์โมนเริ่มลดอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หลับยาก ตื่นเร็ว และเกิดอาการก่อนมีประจำเดือน เช่นปวดท้อง อารมณ์แกว่ง ท้องอืด ปวดศีรษะ
วิธีการดูแลเมื่อนอนไม่หลับ
เมื่อคุณไม่หลับด้วยสาเหตุใดๆมีวิธีการที่จะช่วยให้คุณหลับได้ดีขึ้น
ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ไม่ควรออกกำลังกายก่อนเข้านอน 3 ชั่วโมงการออกกำลังกายจะทำให้หลับสนิทมากขึ้น
หลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำหวานและอาหารเค็มรวมทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟ และสุราเนื่องจากสารดังกล่าวจะไปรบกวนการนอน
นอนให้เป็นเวลา ห้องต้องมืด เงียบ และเย็นพอสมควร ที่นอน หมอนต้องนอนสบาย
ปรึกษาแพทย์เมื่ออาการไม่ดีขึ้น
การตั้งครรภ์กับการนอนหลับ
การตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหลายอย่างเช่น ปวดตามตัว ปวดท้อง ตะคริว คลื่นไส้อาเจียน เด็กเคลื่อนไหวในท้อง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เหล่านี้จะมีผลต่อการนอนของคนท้อง
ตั้งครรภ์ระยะ1-3เดือนระยะนี้จะมีระดับ progesterone สูงทำให้ง่วงนอนนอนเก่ง แต่เนื่องจากจะมีอาการปัสสาวะบ่อยทำให้นอนไม่พอทำให้เกิดอาการง่วงและหลับในเวลากลางวันบ่อย
ตั้งครรภ์ระยะ1-6เดือนระดับฮอร์โมนยังสูงต่อเนื่องแต่จะขึ้นไม่เร็วเท่าช่วงแรกช่วงนี้หลับได้ดีขึ้น
ตั้งครรภ์ระยะ7-9เดือน ครรภ์เริ่มใหญ่ขึ้นทำให้นอนไม่สะดวก ปัสสาวะบ่อย แน่นท้องและปวดขาทำให้ต้องตื่นนอนกลางคืน
โรคที่ทำให้นอนไม่หลับในคนท้อง
การนอนกรนในคนท้อง
ร้อยละ30ของคนท้องจะนอนกรนเนื่องจากมีการบวมของเยื่อจมูกทำให้หายใจลำบาก การนอนกรนจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ถ้าหากการอุดทางเดินหายใจรุนแรงจะทำให้เกิดโรค sleep apnea คือจะนอนกรนดังมาก และมีช่วงหยุดหายใจเวลากลางคืน กลางวันจะง่วงมาก ควรปรึกษาแพทย์หากนอนกรนร่วมกับง่วงในเวลากลางวัน
Restless Legs and Poor Sleep
ร้อยละ 28 ของผู้หญิงจะมีอาการรู้สึกไม่สบายเท้า ชา ร้อน เหมือนมีอะไรในเท้าทำให้ต้องเคลื่อนไหวเท้ามักเป็นเวลาตอนเริ่มนอนทำให้นอนไม่พอ ยาที่ใช้รักษาอาการนี้อาจจะมีผลต่อเด็กควรปรึกษาแพทย์
วิธีการช่วยให้คนท้องหลับดีขึ้น
เมื่อครรภ์อายุมากขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้นให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงเด็กและอวัยวะภายในได้มากขึ้น ไม่ควรนอนหงายเป็นระยะเวลานาน
ให้ดื่มน้ำมากๆในเวลากลางวันส่วนก่อนนอนให้ลดการดื่มน้ำลง
เพื่อป้องกันอาการปวดท้อง heart burn ให้รับประทานอาหารแต่ละมื้ออย่ามากเกินไป ลดอาหารเผ็ด อาหารเปรี้ยว ถ้าหากมีอาการแน่นท้องให้นอนหัวสูง
ออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบไหวเวียนโลหิตดีและอาการตะคริวที่เท้า
ให้รับประทานของว่างบ่อยๆซึ่งจะลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้หมอนสำหรับคนท้อง
ให้งีบหลับบ้างในเวลากลางวัน
ปรึกษาแพทย์หากยังคงมีอาการอยู่
วัยทองกับการนอนหลับ
อาการของหญิงวัยทองแต่ละคนจะไม่เท่ากันคนที่เป็นวัยทองโดยธรรมชาติอาการจะไม่มากส่วนผู้ที่ตัดรังไข่จะมีอาการวัยทองค่อนข้างมาก อาการทีเกิดเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน estrogen ทำให้เกิดร้อนตามเนื้อตัวเหงื่อออกอาการนี้จะอยู่โดยเฉลี่ย 5 ปี การนอนหลับของผู้ป่วยวัยทองจะไม่มีคุณภาพตื่นบ่อยเนื่องจากร้อนตามตัว การรักษาถ้าอาการมากจะให้ฮอร์โมนเสริม ยาป้องกันโรคกระดูกพรุน มีรายงานว่าโสมและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่นเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ซึ่งมีสาร phyto-estrogen สามารถลดอาการของวัยทองได้

การรักษาโรคนอนไม่หลับ
หากคุณมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับหรือหลับยากต้องใช้เวลามากกว่า 30 นาทีหรือตื่นเร็วทำให้ไม่สดชื่นหลังจากตื่นนอน เราเรียกนอนไม่หลับ นอนไม่หลับไม่ใช่โรคแต่เป็นอาการเนื่องจากสาเหตุต่างๆที่กระตุ้น เช่น ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า โรคต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมในการนอน ยาบางชนิดก็ทำให้นอนไม่หลับเช่น ยาลดน้ำมูกยาแก้แพ้ ยารักษาโรคหัวใจ ยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคหอบหืด

นอกจากภาวะต่างดังกล่าวก็ยังมีโรคที่ทำให้นอนไม่หลับ sleep disorder โรคดังกล่าวได้แก่
Narcolepsy
Sleep Apnea
Periodic Leg Movements in Sleep (PLMS)
Restless Legs Syndrome (RLS)
Circadian Rhythm Disorder
การวินิจฉัย
ท่าอาจจะกรอกก่อนไปพบแพทย์แพทย์จะถามคำถาม เพื่อหาสาเหตุของการนอนไม่หลับ
ให้อธิบายว่ามีปัญหานอนไม่หลับเป็นอย่างไร เช่นหลับยากหรือตื่นเร็วหรือตื่นบ่อย ตื่นเพราะอะไร มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง ใช้ยาอะไรบ้าง ดื่มกาแฟหรือดื่มสุราบ้างหรือไม่
มีภาวะเครียด หรือวิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้าหรือไม่
นอนไม่หลับเป็นมานานเท่าใด
เป็นทุกทุกคืนหรือไม่
สามารถทำงานตอนกลางวันได้หรือไม่อารมณ์แกว่งหรือไม่
ผลกระทบจากการนอนไม่หลับ
ผลกระทบจาการนอนไม่หลับกระทบกับคุณภาพชีวิต คุณภาพการทำงาน และความปลอดภัย
ผู้ที่นอนไม่หลับจะมีอัตราการเกิดโรคซึมเศร้า 4 เท่า
การนอนไม่หลับเป็นความเครียดอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจ
อาจจะเกิดอันตราขณะทำงาน ขับรถ
ขาดงานบ่อย ไม่ก้าวหน้าในการทำงาน
การรักษา
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยารักษานอนไม่หลับ
ต้องหาสาเหตุว่านอนไม่หลับเกิดจากโรคอะไร และโรคนั้นรักษาด้วยยานอนหลับได้ผล
นอนไม่หลับก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตประจำวัน
ใช้การรักษาวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
ภาวะนอนไม่หลับเป็นภาวะชั่วคราว
ภาวะนอนไม่หลับเป็นอาการแสดงของโรคอื่น เช่น Alzheimer, dementia
หลักการให้ยารักษาภาวะนอนไม่หลับ
ให้ยาขนาดน้อยที่สุด
ควรจะใช้ระยะสั้น
หากใช้ระยะยาวให้หยุดใช้ยาเป็นช่วงๆ
ควรใช้ยาร่วมกับวิธีการอื่นร่วมด้วย
ยานอนหลับ
ยานอนหลับเป็นยาที่ทำให้หลับง่าย ยานอนหลับที่ดีต้องให้ผลคือ นอนหลับเร็ว นอนหลับนานขึ้น ตื่นกลางคืนน้อยลง และสดชื่นหลังจากตื่น ยาที่ใช้แบ่งเป็น
Benzodiazepines ยานี้เป็นยาที่ใช้บ่อย ยานี้ลดการกระตุ้นของเซลล์สมอง ผลข้างเคียงไม่มากและอัตราการติดยาไม่มาก ยาที่นิยมใช้ได้แก่ lorazepam , alprazolam , triazolam , flurazepam , temazepam , oxazepam , prazepam , quazepam , estazolam , flunitrazepam เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลต่อจิตประสาทและเป็นยาที่ทางอาหารและยาควบคุม การจ่ายยาจะต้องมีใบสั่งแพทย์ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
ยากลุ่มนี้แบ่งตามการออกฤทธิ์เป็นสองแบบคือออกฤทธิ์ระยะสั้นได้แก่ยา lorazepam , alprazolam , triazolam ยากลุ่มนี้จะอยู่ในกระแสเลือดระยะสั้น ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน ส่วนอีกกลุ่มคือออกฤทธิ์ระยะยาว ยาจะอยู่ในกระแสเลือดเป็นเวลานานได้แก่ยา flurazepam,quazepam ยากลุ่มนี้จะทำให้ง่วงนอนในตอนกลางวัน และเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ การให้ยากลุ่มนี้ต้องระวังในผู้สูงอายุ ควรจะได้ในขนาดครึ่งหนึ่งของคนปกติและควรจะได้ยาที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น ยานี้ไม่ควรให้ในคนท้องและเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่เพราะยาจะผ่านไปสู่ลูกได้ หากได้ยาเกิดขนาดมักไม่ถึงกับเสียชีวิต ผู้ป่วยที่รับประทานยาเป็นเวลานานและหยุดยาอาจจะมีอาการนอนไม่หลับและเกิดร่วมกับอาการอย่างอื่น เช่นอาหารไม่ย่อย เหงื่อออก ใจสั่น ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะมีภาพหลอน อาการหยุดยาจะเป็นประมาณ 1-3 สัปดาห์ สำหรับอาการหยุดยาที่ไม่รุนแรงอาจจะเป็นแค่ 1-2 วัน การที่จะหยุดยาควรจะค่อยลดขนาดยาลงไม่ควรหยุดยาทันทีเพราะจะเกิดผลข้างเคียง ควรจะรับประทานยานานแค่ไหน ยานอนหลับควรใช้ระยะสั้นไม่ควรให้ระยะยาวแต่บางรายก็มีความจำเป็นต้องให้ระยะยาวโดยมากไม่ควรให้เกิน 4 สัปดาห์ ข้อควรระวังในการใช้ยา ไม่ควรดื่มสุราขณะใช้ยานี้เพราะจะทำให้ยาออกฤทธิ์นาน ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้สูงอายุที่ต้องตื่นบ่อบเนื่องจากอาจจะเกิดหกล้ม ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร และไม่ควรให้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีโรค sleep apnea syndrome
Non-Benzodiazepine Hypnotics เป็นยานอนหลับอีกชนิดหนึ่งที่ได้ผลค่อนข้างดีได้แก่ Zolpidem,Zopiclone ไม่ค่อยมีอาการดื้อยา และไม่ค่อยมีอาการติดยา ผลข้างเคียงของยาไม่มากเป็นยาที่เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง
Antidepressants ยาแก้โรคซึมเศร้าเหมาสำหรับอาการนอนไม่หลับที่พบร่วมกับภาวะซึมเศร้า ยาใหม่ที่ได้ผลดีควรออกฤทธิ์ต่อ serotonin เช่น trazodone,nefazodone,paroxetine
ยาอื่นได้แก่ ยาแก้แพ้เช่น chlorpheniramine,diphenhydramine,hydroxyzine อาจจะทำให้นอนหลับได้
Barbiturates เป็นยานอนหลับใช้สมัยก่อน เนื่องจากยานี้หากได้เกินขนาดอาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิต และอัตราการติดยาสูง ปัจจุบันไม่ควรใช้ในภาวะนอนไม่หลับ สำหรับภาวะที่นอนไม่หลับเกิดจากวัยทองการให้ฮอร์โมน Estrogen Replacement Therapy จะช่วยให้หลับดีขึ้นhttp://sites.google.com/site/tiens191/bthkhwam-thi-na-snci/kar-nxn-mi-hl

1 comment:

  1. A blog must be connected to the person in need. It is really important to understand the actual feel of such necessity and the essence of objective behind it. Author must give proper time to understand every topic before writing it.เสริมดั้ง

    ReplyDelete